วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ละคร

นาฏศิลป์การละคร


          สาระสำคัญ  ละคร เป็นการแสดงที่เล่นเป็นเรื่องราว มีแนวคิด โครงเรื่อง ตัวละครและบทละคร อันจะแตกต่างจากการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในรูปแบบ ระบำ รำฟ้อน หรือพื้นเมืองละครแต่ละประเภทก็จะมีหลักการ และองค์ประกอบในการแสดงที่แตกต่างกัน ป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว  มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน  ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ  เข้าบทร้อง  ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า  ละครโนราชาตรี  ละครนอก  ละครใน  เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ  พระสุธน  สังข์ทอง คาวี  อิเหนา  อุณรุท  นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด  การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์  เรียกว่า  การแต่งการแบยืนเครื่อง  นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
อิเหนา
ความหมายของคำว่า  “ละคร” และ “ละคอน
          คำว่า “ละคอน” และ “ละคร” นี้ ยังใช้กันสับสนอยู่มาก จึงมีปัญหาว่าจะใช้คำไหนจึงจะดีและมีเหตุผล จึงขอนำหลักฐานงานค้นคว้าของนักปราชญ์ และผู้รู้ทั้งหลายมาประมวลไว้เป็นแนวทางการพิจารณา คือพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) บรรยายไว้เป็นคำกลอน
            พระยาศรีสุนทรโวหารสันนิษฐานว่าคำว่า “ละคร” เลือนมาจากคำว่านครศรีธรรมราช
ซึ่งอยู่ในดินแดนใต้สุดของไทย
  1. ละครเลือนมาจากคำว่านคร หนังสือพิธีไหว้ครูตำราครอบโขนละครก็มีว่า “ เทเลเทเส
  1. ยังวาซัดมาลอยมา เมืองละครแก้วข้า นับเราฤาเรา ”
  1. ละครมาจากคำว่า ลิกอร์ ซึ่งวิบัติมาเป็น ละกอร์ แล้วเป็น ละคร
  1. ตามความหมายกว้าง ๆ หมายถึง การละเล่นที่แสดงกิริยาท่าทางซึ่งจะเป็นรำ
  1. หรือ เต้น ก็เรียกละคร นั่นคือพวกระบำต่าง ๆ
ได้แก่ ละคร ลิเก และเสภา เป็นต้น
บทละครนั้นไม่ใช่เขียนสำหรับอ่าน แต่เขียนขึ้นเพื่อแสดงให้คนดู
เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประพันธ์จะต้องคำนึงถึง
คือ เรื่อง “มโนห์รา” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ในอาณาจักรน่านเจ้าเดิมนั่นเองนิยายเรื่องนั้น คือ “นามาโนห์รา (Namanora) เป็นนิยายของพวกไต พวกไตคือไทยเรานี่เองแต่เป็นพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิม เรื่องนามาโนห์รานี้จะนำมาเล่นเป็นละครหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏเด่นชัด ส่วนการละเล่นของไทยน่านเจ้านั้นมีพวกระบำอยู่แล้วคือ ระบำหมวก และระบำนกยูง

  • ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
  • ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
  • ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด (เผารูปเทวดา)
  • ตอนพระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท
  • ตอนปล่อยม้าอุปการ
หมื่นโวหารภิรมย์ นอกจากละครไทยแล้วยังมีละครเขมรของหลวงพิพิธวาทีอีกด้วย
  • พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้คนทั่วไปมีละครชาย และหญิง เพื่อบ้านเมือง
  • จะได้ครึกครื้นขึ้น เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน
  • แม้จะมีละครหลวง แต่คนที่เคยเล่นละครก็ขอให้เล่นต่อไป
  • ห้ามบังคับผู้คนมาฝึกละคร ถ้าจะมาขอให้มาด้วยความสมัครใจ
  • สำหรับละครที่มิใช่ของหลวง มีข้อยกเว้นคือ
  • –  ห้ามใช้รัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา และพานทองหีบทองเป็นเครื่องยก
  • –  บททำขวัญห้ามใช้แตรสังข์
  • –  หัวช้างห้ามทำสีเผือก ยกเว้นหัวช้างเอราวัณ
  • มีประกาศกฎหมายภาษีมหรสพ พ.ศ. 2402 เก็บจากเจ้าของคณะละครตามประเภท
  • การแสดง และเรื่องที่แสดง
             - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การละครในยุคนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากการละครแบบตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่วงการนาฏศิลป์ ทำให้เกิดละครประเภทต่างๆขึ้นมากมาย เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครพูด และลิเก ทรงส่งเสริมการละครโดยเลิกกฎหมายการเก็บอากรมหรสพเมื่อ พ.ศ. 2450 ทำให้กิจการละครเฟื่องฟูขึ้นกลายเป็นอาชีพได้ เจ้าของโรงละครทางฝ่ายเอกชนมีหลายราย นับตั้งแต่เจ้านายมาถึงคนธรรมดา
             - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมัยที่การละครและการดนตรีทั้งหลายได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด นับได้ว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปะการละครยุคที่ 2พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อบำรุงวิชาการนาฏศิลป และการดนตรีและยังทรงเป็นบรมครูของเหล่าศิลปิน ทรงพระราชนิพนธ์บทโขน ละคร ฟ้อนรำไว้เป็นจำนวนมาก
              - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การเมืองเกิดภาวะคับขัน และเศรษฐกิจของ
ประเทศทรุดโทรม เสนาบดีสภาได้ตกลงประชุมกันเลิกกรมมหรสพ เพื่อให้มีส่วนช่วยกู้การเศรษฐกิจของประเทศ และต่อมาจึงกลับฐานะมาเป็นกองขึ้นอีก จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2478 กองมหรสพจึงอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร ข้าราชการศิลปินจึงย้ายสังกัดมาอยู่ในกรมศิลปากร ในสมัยนี้มีละครแนวใหม่เกิดขึ้นคือ ละครเพลง หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า “ละครจันทโรภาส” ตลอดทั้งมีละครหลวงวิจิตรวาทการเกิดขึ้น


          เดิมนครศรีธรรมราชไม่ขึ้นอยู่กับใคร แต่อยู่ในอาณาจักรของศรีวิชัย นักโบราณคดีบอกว่านครศรีธรรมราชนี้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า ลิกอร์ (Ligor) เป็นอาณาจักรที่ตั้งขึ้น 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช กล่าวกันว่ามีการละเล่นแบบละครเจริญรุ่งเรืองมากที่เมืองลิกอร์นี้  นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า คำ ลิกอร์ ก็คือละครนั่นเอง เพราะคำว่า “ ลิ ” สระอิหายไปกลายเป็นสระ “ ะ ” ส่วนคำว่า “ กอร์ ” ก็แบบเดียวกับนครวัดของเขมรฝรั่งเรียกว่า อังกอร์วัด อังกอร์เป็นนครได้ฉันใด ลิกอร์ ละกอร์ก็เป็นละครได้ฉันนั้น ดังนั้นพอสรุปจากการสันนิษฐานครั้งนี้ได้ว่า
         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกเชิงอรรถไว้ใน “ ตำนานละคอนอิเหนา ” ว่า “ คำว่า “ ละคร ” นั้น เดิมมักเข้าใจกันว่ามาแต่คำ “ นคร “ ดังเช่นคนเรียกมืองนครศรีธรรมราช และเมืองนครลำปางว่า “ เมืองละคร ” แต่ที่จริงเห็นจะไม่ใช่เช่นนั้น มีละครที่เมืองชวา อย่างหนึ่ง เรียกว่า “ลางันดริโย” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า จะมาแต่ศัพท์เดียวกับคำ “ ละคร ” นี้เอง แต่ต้นศัพท์จะเป็นอย่างไร ยังหาไม่พบ ”
ความหมายของละคร
ละคร คือ การแสดงเลียนชีวิตโดยมีการ้องรำทำเพลงประกอบ แยกได้ 2 อย่าง
2.  ตามความหมายเฉพาะหลักวิชา การแสดงที่ต้องมีเนื้อเรื่องเป็นสำคัญ
นิยามคำว่า “ การละครไทย 
คำว่า “ ละคร ” เมื่อเพิ่ม “ การ ” เข้ามา กลายเป็น “ การละคร ” ทำให้มีความหมายกว้างออกไปอีกมาก
         “ การ ” ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า “ กิจ งาน ธุระ หน้าที่ ” เพราะฉะนั้นไม่ว่าสิ่งใดที่เป็นงาน , เป็นธุระ, เป็นหน้าที่ของละคร จะอยู่ในวิชานี้ทั้งหมด บรรดาเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการแสดงละคร เช่น สถานที่แสดง ดนตรี เพลงร้อง วิธีแสดง บทละคร ฯลฯ
            ตลอดจนระบำ ก็รวมอยู่ใน “ การละคร ” ทั้งสิ้นแต่ทว่า เมื่อเอาคำว่า “ ไทย ” มาต่อท้ายเป็น “ การละครไทย ” จึงทำให้มีความหมายแคบเข้ามาให้อยู่ในวงการแสดงเฉพาะที่เป็นของไทย เป็นศิลปะ และวัฒนธรรมไทยเป็นสัญลักษณ์อันแลเห็นได้ว่าเป็นไทย แม้การแสดงนั้น ๆ จะได้รับแบบแผนหรืออิทธิพลในทางวัฒนธรรมจากชาติอื่นแต่ได้ดัดแปลงปรับปรุงจนเป็นรูปลักษณะของไทยแล้ว ก็ถือว่าเป็นไทยวรรณกรรมประเภทละคร ไม่ว่าจะเป็นของประเทศใด หรืออยู่ในสมัยใดย่อมมีลักษณะเฉพาะของ
          “ ละคร ”  ซึ่งแตกต่างจากนวนิยาย โคลง กลอน และบทประพันธ์ประเภทอื่นในข้อที่ว่า
              เนื่องจากละครเป็นศิลปะที่จะต้องเสนอต่อผู้ชมในรูปของการแสดง ระยะเวลาแสดงจึง
ประวัติการละครไทยสมัยต่างๆ มีดังนี้
             - สมัยน่านเจ้า การศึกษาเรื่องการละคร และนาฏศิลป์ไทยในสมัยนี้ พบว่า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่ง
               - สมัยสุโขทัย สมัยนี้ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการละครนัก เป็นสมัยที่เริ่มมีความสัมพันธ์กับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมที่ดีของชาติที่สมาคมด้วย แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ชาติไทยแต่โบราณจะไม่รู้จักการละครฟ้อนรำมาก่อน เรามีการแสดงประเภทระบำรำเต้นมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้า ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำ และระบำก็ได้วิวัฒนาการขึ้น มีการกำหนดแบบแผนแห่งศิลปะการแสดงทั้ง 3 ชนิดไว้เป็นที่แน่นอนและบัญญัติคำเรียกศิลปะแห่งการแสดงดังกล่าวแล้วขั้นต้นว่า “โขน ละคร ฟ้อนรำ” ส่วนเรื่องละครแก้บนกับละครยก อาจมีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยนั้นแล้วเช่นกัน    
                - สมัยกรุงศรีอยุธยาละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลป์ขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรีละครนอก ละครใน โขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้ ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลป์ขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครในโขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้
               - สมัยกรุงธนบุรี สมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 เหล่าศิลปินได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ เพราะผลจากสงคราม บางส่วนก็เสียชีวิต บางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่า ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกในปีชวด พ.ศ. 2311 แล้ว ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งบทละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้เข้ามาอยู่รวมกัน ตลอดทั้งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ
มีคณะละครหลวง และเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล
              - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่ การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่
             - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูรวบรวมสิ่งต่างๆที่สูญเสีย และกระจัดกระจายให้สมบูรณ์ ในรัชสมัยนี้ได้มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำขึ้นไว้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุดในประวัติการละครไทย มีบทละครที่ปรากฏตามหลักฐานอยู่ 3 เรื่อง คือบทละครเรื่องอุณรุฑ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ และบทละครเรื่องดาหลัง พระราชนิพนธ์ตามเค้าความของเจ้าฟ้ากุณฑลที่เรียกว่าอิเหนาใหญ่
              - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญรุ่งเรืองเป็นยุคทองแห่งศิลปะการละคร มีนักปราชญ์ราชกวีที่ปรึกษา 3 ท่าน คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กรมหลวงพิทักษ์มนตรี และสุนทรภู่ มีบทละครในที่เกิดขึ้น ได้แก่ เรื่องอิเหนา ซึ่งวรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครรำ และเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนบทละครนอก ได้แก่ เรื่องไกรทอง คาวี เชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิชัย
               - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ละครหลวงซบเซา เนื่องจากพระองค์ไม่สนับสนุน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกละครหลวงเสีย แต่มิได้ขัดขวางผู้จะจัดแสดงละครทำให้เกิดคณะละครของเจ้านาย และขุนนางขึ้นแพร่หลาย หลายคณะ หลายโรง และมีบทละครเกิดขึ้นมากมาย
               - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยนี้ได้เริ่มมีการติดต่อกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวยุโรปบ้างแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูละครหลวงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งออกประกาศสำคัญเป็นผลให้การละครไทยขยายตัวอย่างกว้างขวางดังมีความโดยย่อ คือ





-เครดิต  https://dongpoel3839.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น