วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ละคร

นาฏศิลป์การละคร


          สาระสำคัญ  ละคร เป็นการแสดงที่เล่นเป็นเรื่องราว มีแนวคิด โครงเรื่อง ตัวละครและบทละคร อันจะแตกต่างจากการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในรูปแบบ ระบำ รำฟ้อน หรือพื้นเมืองละครแต่ละประเภทก็จะมีหลักการ และองค์ประกอบในการแสดงที่แตกต่างกัน ป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว  มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน  ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ  เข้าบทร้อง  ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า  ละครโนราชาตรี  ละครนอก  ละครใน  เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ  พระสุธน  สังข์ทอง คาวี  อิเหนา  อุณรุท  นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด  การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์  เรียกว่า  การแต่งการแบยืนเครื่อง  นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
อิเหนา
ความหมายของคำว่า  “ละคร” และ “ละคอน
          คำว่า “ละคอน” และ “ละคร” นี้ ยังใช้กันสับสนอยู่มาก จึงมีปัญหาว่าจะใช้คำไหนจึงจะดีและมีเหตุผล จึงขอนำหลักฐานงานค้นคว้าของนักปราชญ์ และผู้รู้ทั้งหลายมาประมวลไว้เป็นแนวทางการพิจารณา คือพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) บรรยายไว้เป็นคำกลอน
            พระยาศรีสุนทรโวหารสันนิษฐานว่าคำว่า “ละคร” เลือนมาจากคำว่านครศรีธรรมราช
ซึ่งอยู่ในดินแดนใต้สุดของไทย
  1. ละครเลือนมาจากคำว่านคร หนังสือพิธีไหว้ครูตำราครอบโขนละครก็มีว่า “ เทเลเทเส
  1. ยังวาซัดมาลอยมา เมืองละครแก้วข้า นับเราฤาเรา ”
  1. ละครมาจากคำว่า ลิกอร์ ซึ่งวิบัติมาเป็น ละกอร์ แล้วเป็น ละคร
  1. ตามความหมายกว้าง ๆ หมายถึง การละเล่นที่แสดงกิริยาท่าทางซึ่งจะเป็นรำ
  1. หรือ เต้น ก็เรียกละคร นั่นคือพวกระบำต่าง ๆ
ได้แก่ ละคร ลิเก และเสภา เป็นต้น
บทละครนั้นไม่ใช่เขียนสำหรับอ่าน แต่เขียนขึ้นเพื่อแสดงให้คนดู
เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประพันธ์จะต้องคำนึงถึง
คือ เรื่อง “มโนห์รา” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ในอาณาจักรน่านเจ้าเดิมนั่นเองนิยายเรื่องนั้น คือ “นามาโนห์รา (Namanora) เป็นนิยายของพวกไต พวกไตคือไทยเรานี่เองแต่เป็นพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิม เรื่องนามาโนห์รานี้จะนำมาเล่นเป็นละครหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏเด่นชัด ส่วนการละเล่นของไทยน่านเจ้านั้นมีพวกระบำอยู่แล้วคือ ระบำหมวก และระบำนกยูง

  • ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
  • ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
  • ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด (เผารูปเทวดา)
  • ตอนพระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท
  • ตอนปล่อยม้าอุปการ
หมื่นโวหารภิรมย์ นอกจากละครไทยแล้วยังมีละครเขมรของหลวงพิพิธวาทีอีกด้วย
  • พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้คนทั่วไปมีละครชาย และหญิง เพื่อบ้านเมือง
  • จะได้ครึกครื้นขึ้น เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน
  • แม้จะมีละครหลวง แต่คนที่เคยเล่นละครก็ขอให้เล่นต่อไป
  • ห้ามบังคับผู้คนมาฝึกละคร ถ้าจะมาขอให้มาด้วยความสมัครใจ
  • สำหรับละครที่มิใช่ของหลวง มีข้อยกเว้นคือ
  • –  ห้ามใช้รัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา และพานทองหีบทองเป็นเครื่องยก
  • –  บททำขวัญห้ามใช้แตรสังข์
  • –  หัวช้างห้ามทำสีเผือก ยกเว้นหัวช้างเอราวัณ
  • มีประกาศกฎหมายภาษีมหรสพ พ.ศ. 2402 เก็บจากเจ้าของคณะละครตามประเภท
  • การแสดง และเรื่องที่แสดง
             - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การละครในยุคนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากการละครแบบตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่วงการนาฏศิลป์ ทำให้เกิดละครประเภทต่างๆขึ้นมากมาย เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครพูด และลิเก ทรงส่งเสริมการละครโดยเลิกกฎหมายการเก็บอากรมหรสพเมื่อ พ.ศ. 2450 ทำให้กิจการละครเฟื่องฟูขึ้นกลายเป็นอาชีพได้ เจ้าของโรงละครทางฝ่ายเอกชนมีหลายราย นับตั้งแต่เจ้านายมาถึงคนธรรมดา
             - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมัยที่การละครและการดนตรีทั้งหลายได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด นับได้ว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปะการละครยุคที่ 2พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อบำรุงวิชาการนาฏศิลป และการดนตรีและยังทรงเป็นบรมครูของเหล่าศิลปิน ทรงพระราชนิพนธ์บทโขน ละคร ฟ้อนรำไว้เป็นจำนวนมาก
              - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การเมืองเกิดภาวะคับขัน และเศรษฐกิจของ
ประเทศทรุดโทรม เสนาบดีสภาได้ตกลงประชุมกันเลิกกรมมหรสพ เพื่อให้มีส่วนช่วยกู้การเศรษฐกิจของประเทศ และต่อมาจึงกลับฐานะมาเป็นกองขึ้นอีก จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2478 กองมหรสพจึงอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร ข้าราชการศิลปินจึงย้ายสังกัดมาอยู่ในกรมศิลปากร ในสมัยนี้มีละครแนวใหม่เกิดขึ้นคือ ละครเพลง หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า “ละครจันทโรภาส” ตลอดทั้งมีละครหลวงวิจิตรวาทการเกิดขึ้น


          เดิมนครศรีธรรมราชไม่ขึ้นอยู่กับใคร แต่อยู่ในอาณาจักรของศรีวิชัย นักโบราณคดีบอกว่านครศรีธรรมราชนี้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า ลิกอร์ (Ligor) เป็นอาณาจักรที่ตั้งขึ้น 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช กล่าวกันว่ามีการละเล่นแบบละครเจริญรุ่งเรืองมากที่เมืองลิกอร์นี้  นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า คำ ลิกอร์ ก็คือละครนั่นเอง เพราะคำว่า “ ลิ ” สระอิหายไปกลายเป็นสระ “ ะ ” ส่วนคำว่า “ กอร์ ” ก็แบบเดียวกับนครวัดของเขมรฝรั่งเรียกว่า อังกอร์วัด อังกอร์เป็นนครได้ฉันใด ลิกอร์ ละกอร์ก็เป็นละครได้ฉันนั้น ดังนั้นพอสรุปจากการสันนิษฐานครั้งนี้ได้ว่า
         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกเชิงอรรถไว้ใน “ ตำนานละคอนอิเหนา ” ว่า “ คำว่า “ ละคร ” นั้น เดิมมักเข้าใจกันว่ามาแต่คำ “ นคร “ ดังเช่นคนเรียกมืองนครศรีธรรมราช และเมืองนครลำปางว่า “ เมืองละคร ” แต่ที่จริงเห็นจะไม่ใช่เช่นนั้น มีละครที่เมืองชวา อย่างหนึ่ง เรียกว่า “ลางันดริโย” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า จะมาแต่ศัพท์เดียวกับคำ “ ละคร ” นี้เอง แต่ต้นศัพท์จะเป็นอย่างไร ยังหาไม่พบ ”
ความหมายของละคร
ละคร คือ การแสดงเลียนชีวิตโดยมีการ้องรำทำเพลงประกอบ แยกได้ 2 อย่าง
2.  ตามความหมายเฉพาะหลักวิชา การแสดงที่ต้องมีเนื้อเรื่องเป็นสำคัญ
นิยามคำว่า “ การละครไทย 
คำว่า “ ละคร ” เมื่อเพิ่ม “ การ ” เข้ามา กลายเป็น “ การละคร ” ทำให้มีความหมายกว้างออกไปอีกมาก
         “ การ ” ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า “ กิจ งาน ธุระ หน้าที่ ” เพราะฉะนั้นไม่ว่าสิ่งใดที่เป็นงาน , เป็นธุระ, เป็นหน้าที่ของละคร จะอยู่ในวิชานี้ทั้งหมด บรรดาเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการแสดงละคร เช่น สถานที่แสดง ดนตรี เพลงร้อง วิธีแสดง บทละคร ฯลฯ
            ตลอดจนระบำ ก็รวมอยู่ใน “ การละคร ” ทั้งสิ้นแต่ทว่า เมื่อเอาคำว่า “ ไทย ” มาต่อท้ายเป็น “ การละครไทย ” จึงทำให้มีความหมายแคบเข้ามาให้อยู่ในวงการแสดงเฉพาะที่เป็นของไทย เป็นศิลปะ และวัฒนธรรมไทยเป็นสัญลักษณ์อันแลเห็นได้ว่าเป็นไทย แม้การแสดงนั้น ๆ จะได้รับแบบแผนหรืออิทธิพลในทางวัฒนธรรมจากชาติอื่นแต่ได้ดัดแปลงปรับปรุงจนเป็นรูปลักษณะของไทยแล้ว ก็ถือว่าเป็นไทยวรรณกรรมประเภทละคร ไม่ว่าจะเป็นของประเทศใด หรืออยู่ในสมัยใดย่อมมีลักษณะเฉพาะของ
          “ ละคร ”  ซึ่งแตกต่างจากนวนิยาย โคลง กลอน และบทประพันธ์ประเภทอื่นในข้อที่ว่า
              เนื่องจากละครเป็นศิลปะที่จะต้องเสนอต่อผู้ชมในรูปของการแสดง ระยะเวลาแสดงจึง
ประวัติการละครไทยสมัยต่างๆ มีดังนี้
             - สมัยน่านเจ้า การศึกษาเรื่องการละคร และนาฏศิลป์ไทยในสมัยนี้ พบว่า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่ง
               - สมัยสุโขทัย สมัยนี้ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการละครนัก เป็นสมัยที่เริ่มมีความสัมพันธ์กับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมที่ดีของชาติที่สมาคมด้วย แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ชาติไทยแต่โบราณจะไม่รู้จักการละครฟ้อนรำมาก่อน เรามีการแสดงประเภทระบำรำเต้นมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้า ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำ และระบำก็ได้วิวัฒนาการขึ้น มีการกำหนดแบบแผนแห่งศิลปะการแสดงทั้ง 3 ชนิดไว้เป็นที่แน่นอนและบัญญัติคำเรียกศิลปะแห่งการแสดงดังกล่าวแล้วขั้นต้นว่า “โขน ละคร ฟ้อนรำ” ส่วนเรื่องละครแก้บนกับละครยก อาจมีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยนั้นแล้วเช่นกัน    
                - สมัยกรุงศรีอยุธยาละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลป์ขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรีละครนอก ละครใน โขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้ ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลป์ขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครในโขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้
               - สมัยกรุงธนบุรี สมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 เหล่าศิลปินได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ เพราะผลจากสงคราม บางส่วนก็เสียชีวิต บางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่า ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกในปีชวด พ.ศ. 2311 แล้ว ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งบทละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้เข้ามาอยู่รวมกัน ตลอดทั้งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ
มีคณะละครหลวง และเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล
              - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่ การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่
             - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูรวบรวมสิ่งต่างๆที่สูญเสีย และกระจัดกระจายให้สมบูรณ์ ในรัชสมัยนี้ได้มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำขึ้นไว้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุดในประวัติการละครไทย มีบทละครที่ปรากฏตามหลักฐานอยู่ 3 เรื่อง คือบทละครเรื่องอุณรุฑ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ และบทละครเรื่องดาหลัง พระราชนิพนธ์ตามเค้าความของเจ้าฟ้ากุณฑลที่เรียกว่าอิเหนาใหญ่
              - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญรุ่งเรืองเป็นยุคทองแห่งศิลปะการละคร มีนักปราชญ์ราชกวีที่ปรึกษา 3 ท่าน คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กรมหลวงพิทักษ์มนตรี และสุนทรภู่ มีบทละครในที่เกิดขึ้น ได้แก่ เรื่องอิเหนา ซึ่งวรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครรำ และเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนบทละครนอก ได้แก่ เรื่องไกรทอง คาวี เชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิชัย
               - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ละครหลวงซบเซา เนื่องจากพระองค์ไม่สนับสนุน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกละครหลวงเสีย แต่มิได้ขัดขวางผู้จะจัดแสดงละครทำให้เกิดคณะละครของเจ้านาย และขุนนางขึ้นแพร่หลาย หลายคณะ หลายโรง และมีบทละครเกิดขึ้นมากมาย
               - สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยนี้ได้เริ่มมีการติดต่อกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวยุโรปบ้างแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูละครหลวงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งออกประกาศสำคัญเป็นผลให้การละครไทยขยายตัวอย่างกว้างขวางดังมีความโดยย่อ คือ





-เครดิต  https://dongpoel3839.wordpress.com

การแต่งกายโขน

การแต่งกายโขน  

แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายมนุษย์เทวดา(พระ นาง) ฝ่ายยักษ์ ฝ่ายลิง

- ตัวพระ

             สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ส่วนล่างสวมสนับเพลา ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ ศีรษะสวมชฎาสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลัง ไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้าและสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น ทั้งเทวดาและมนุษย์ แต่งกายเหมือนกันหมดคือ แต่งยืนเครื่องอย่างพระผิดกันแต่สีเสื้อเปลี่ยนไปตามสีกายประจำตัวละคร เช่น พระอินทร์สีเขียวพระพรหมสีขาว ท้าวมาลีวราชสีขาว พระราม สีเขียว พระลักษมณ์สีทอง พระพรตสีแดงชาดและพระสัตรุดสีม่วงอ่อน เป็นต้น เข้าใจว่าในสมัยโบราณตัวพระจะสวมหน้าด้วยเครื่องประดับศีรษะจึงมีหลายลักษณะ ของเทวดาเป็นมงกุฎยอดต่างๆ เช่นพระอินทร์เป็นมงกุฎเดินหนท้าวมาลีวราชเป็นมงกุฎยอดชัย หรือมงกุฎน้ำเต้าของมนุษย์เป็นมงกุฎชัย หรือชฎาพระ

- ตัวนาง

            สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่องส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้าหรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอสังวาล พาหุรัด เป็นต้น แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์ เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูรจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของ ตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง ตัวนางจะแต่งยืนเครื่องนางหมดทุกตัว ผิดกันแต่เครื่อง สวมศีรษะ คือ พระชนนีทั้งสามของพระราม นางสีดา มเหสีพระอินทร์ นางมณโฑนางเทพอัปสร นาง วานริน นางบุษมาลี ตลอดจนนางสุพรรณมัจฉานางสุวรรณกันยุมา นางตรีชฎาสวมรัดกล้ายอด นางเบญกายสวมรัดเกล้าเปลว ส่วนนางกาลอัคคี สวมมงกุฎยอดนาคนางกำนัลสวม กระบังหน้านางสุพรรณมัจฉามีหางปลาติดไว้ที่ส่วนหลังใต้เข็มขัดด้วยเพราะมีสัญชาติเป็นปลา

- ยักษ์

                แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ คือ พญายักษ์ เสนายักษ์ และเขนยักษ์ พญายักษ์ เช่น ทศกัณฐ์อินทรชิต ไมยราพ พิเภก สหัสเดชะ แสงอาทิตย์ จะนุ่งผ้าเยียรบับทับสนับเพลาเช่นเดียวกันกับตัวพระแต่ไม่ไว้โจงหางหงส์ แต่จะมีผ้าปิดก้นห้อยลงมาจากเอว เครื่องประดับส่วนใหญ่เช่นเดียวกันกับตัวพระ เพียงแต่มีเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือตัวพญายักษ์ชั้นผู้ใหญ่ เช่น ทศกัณฐ์ มักจะมีรัดอกคาดอยู่ด้วย เสนายักษ์นุ่งผ้าเกี้ยว นอกนั้นก็เหมือนพญายักษ์ เพียงแต่ไม่มีรัดอก เขนยักษ์สวมเสื้อผ้าธรรมดา นุ่งผ้าลาบทับสนับเพลา ผ้าปิดก้นไม่มี คาดเอวด้วยผ้า มีกรองคอทำด้วยผ้าธรรมดาสวมศีรษะเขียนลาย พญายักษ์และเสนายักษ์แต่ละตัวมีสีกายและสีหน้าประจำตัวมีหัวโขนเฉพาะของตัว มียอดของส่วนมงกุฎแต่งต่างกันออกไป บางพวกก็ไม่มีมงกุฎเรียกว่า ยักษ์โล้น” นางอดูลปิศาจ เครื่องแต่งตัวบางทีไม่ใช้ยืนเครื่องอย่างนางแต่รวบชายล่างขึ้นโจงกระเบน ดูก็เหมือนยักษ์อื่นๆ คาดเข็มขัดแต่ไม่มีห้อยหน้าเจียระบาดอย่างพญายักษ์ สวมเสื้อแขนยาวอย่างยักษ์ผู้ชายแต่มีห่มนางทับบนเสื้อ เครื่องประดับอื่นๆ คล้ายตัวนางทั่วๆไปส่วนนางยักษ์ที่เป็นมเหสีหรือธิดาของพญายักษ์ แต่งกายยืนเครื่องนางสวมมงกุฎหรือรัดเกล้า ไม่สวมหัวโขน

* หมายเหตุ : บรรดาพญายักษ์ตัวสำคัญอื่นๆในการแสดงโขน จะแต่งกายคล้ายแบบนี้ ต่างกันแต่สี และลักษณะของหัวโขน ซึ่งนายช่างได้บัญญัติ และประดิษฐ์ให้แปลกแตกต่างกัน เฉพาะหัวยักษ์มีอยู่ราวร้อยชนิด

- ลิง


           แบ่งออกเป็นพวกๆ ได้แก่ พญาวานร เช่น หนุมาน สุครีพ องคต ฯลฯ พวกสิบแปดมงกุฎเช่น มายูร เกยูร เกสรมาลา ฯลฯ พวกเตียวเพชร เช่น โชติมุก พวกจังเกียงและพวกเขนลิง พวกพญาวานรและพวกอื่นๆ ยกเว้นเขนลิง แต่งตัวยืนเครื่องและสวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ แต่ไม่มีอินทรธนูนุ่งผ้าไม่จีบโจงหางหงส์ มีผ้าปิดก้นห้อยเอวลงจากด้านหลังเช่นเดียวกับยักษ์และมีหางห้อยอยู่ข้างใต้ ผ้าปิดก้น เฉพาะตัวมัจฉานุมีหางเป็นปลาผิดจากลิงอื่นๆลิงเหล่านี้แต่ละตัวมีหัวโขนเฉพาะของตัว ทั้งที่เป็นมงกุฎยอดต่างๆและทั้งที่ไม่มีมงกุฎเรียกว่า “ ลิงโล้น ” เสื้อลิงนั้นใช้ดิ้นและเลื่อมปักทำเป็นเส้นขด สมมติว่าเป็นขนตามตัวของลิง ไม่ทำเป็นลายดอกอย่างเสื้อตัวพระหรือยักษ์ และไม่มีอินทรธนู เขนลิงสวมเสื้อแขนยาวผ้าธรรมดา กรองคอก็เป็นผ้าธรรมดา นุ่งกางเกงคาดเข็มขัดมีหางและผ้าปิดก้น สวมศีรษะเขนลิง

* หมายเหตุ :บรรดาวานรตัวสำคัญอื่นๆในการแสดงโขน จะแต่งกายคล้ายแบบนี้ ต่างกันแต่สีและลักษณะของหัวโขน ซึ่งนายช่างได้บัญญัติ และประดิษฐ์ให้แปลกแตกต่างกันเฉพาะหัวลิงมีอยู่ประมาณ 40 ชนิด

- ตัวเบ็ดเตล็ด 
            ได้แก่ ตัวละครอื่นๆ เป็นต้นว่าฤาษีต่างๆ เช่น พระวสิษฐ์ พระสวามิตร พระโคบุตร เป็นต้น ล้วนแต่งกายแบบฤาษีเช่นเดียวกับเรื่องอิเหนาแต่ศีรษะคงสวมหัวโขน เป็นประจำช้างเอราวัณ สวมศีรษะช้างสามเศียร สีขาวมงกุฎยอดน้ำเต้า ส่วนช้างธรรมดาก็ใช้เช่นเดียวกับในเรื่องอิเหนาม้าอุปการสวมหน้าม้าสีดำ ปากแดง ส่วนมากลากราชรถอื่นๆ มีศีรษะ ม้าสวม มีหลายสีครอบไว้เหนือกระหม่อมหรืออาจใช้มาแผงห้อยไว้ที่ข้างลำตัว อย่างเรื่องอิเหนาก็ได้ นอกจากนี้ก็มีตัวเบ็ดเตล็ดอื่นๆซึ่งล้วนแต่สวมศีรษะสัตว์โดยได้จำลองเลียนแบบลักษณะของจริงมาหรือประดิษฐ์ให้ตรงกับในบท เช่น กวางทอง พญาครุฑเหยี่ยว ปลา พญานาค มหิงสา เป็นต้น

ลักษณะบทโขน 


 ประกอบด้วย บทร้อง  ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น

๑  พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือพระรามประทับในปราสาทหรือพลับพลา เช่น


ครั้นรุ่งแสงสุริยโอภาพุ่งพ้นเวหา
คิรียอดยุคันธร
สมเด็จพระหริวงศ์ทรงศรฤทธิ์เลื่องลือขจร
สะท้อนทั้งไตรโลกา
เสด็จออกนั่งหน้าพลับพลาพร้อมด้วยเสนา
ศิโรตมก้มกราบกราน
พิเภกสุครีพหนุมานนอบน้อมทูลสาร
สดับคดีโดยถวิ

๒  พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย เช่น


เสด็จทรงรถเพชรเพชรพรายพรายแสงแสงฉาย
จำรูญจำรัสรัศมี
อำไพไพโรจน์รูจีสีหราชราชสีห์
ชักรชรถรถทรง
ดุมหันหันเวียนวงกึกก้องก้องดง
เสทือนทั้งไพรไพรวัน
ยักษาสารถีโลทันเหยียบยืนยืนยัน
ก่งศรจะแผลแผลงผลาญ

๓  พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ เช่น


อนิจจาเจ้าเพื่อนไร้มาบรรลัยอยู่เอองค์
พี่จะได้สิ่งใดปองพระศพน้องในหิมวา
จะเชิญศพพระเยาวเรศเข้ายังนิเวศน์อยุธยา
ทั้งพระญาติวงศาจะพิโรธพิไรเรียม
ว่าพี่พามาเสียชนม์ในกมลให้ตรมเกรียม
จะเกลี่ยทรายขึ้นทำเทียมต่างแท่นทิพบรรทม
จะอุ้มองค์ขึ้นต่างโกศเอาพระโอษฐ์มาระงม
ต่างเสียงพระสนมอันร่ำร้องประจำเวร


๔  พากย์ชมดง เป็นบทตอนชมป่าเขา ลำเนาไพร  ทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมดา เช่น


เค้าโมงจับโมงมองเมียงคู่เค้าโมงเคียง
เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง
ลางลิงลิงเหนี่ยวลดาโยงค่อยยุดฉุดโชลง
โลดไล่ในกลางลางลิง
ชิงชังนกชิงกันสิงรังใครใครชิง
ชิงกันจับต้นชิงชัน
นกยูงจับพยูงยืนยันแผ่หางเหียนหัน
หันเหยีบเลียบไต่ไม้พยูง


๕  พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยายตำนานรัตนธนู


เดิมทีธนูรัตนวรฤทธิเกรียงไกร
องค์วิศวะกรรมไซร้ประดิษฐะสองถวาย
คันหนึ่งพระวิษณุสุรราชะนารายณ์
คันหนึ่งนำทูลถวายศิวะเทวะเทวัน
ครั้นเมื่อมุนีทัก-ษะประชาบดีนั้น
กอบกิจจะการยัญ-ญะพลีสุเทวา
ไม่เชิญมหาเทพธก็แสนจะโกรธา
กุมแสงธนูคลาณ พิธีพลีกรณ์


๖  พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่นกล่าวว่า ใครทำอะไร หรือพูดกับใคร ว่าอย่างไร เช่น


ภูวกวักเรียกหนุมานมาตรัสสั่งกิจจา
ให้แจ้งประจักษ์ใจจง
แล้วถอดจักรรัตน์ธำมรงค์กับผ้าร้อยองค์
ยุพินทรให้นำไป
ผิวนางยังแหนงน้ำใจจงแนะความใน
มิถิลราชพารา
อันปรากฏจริงใจมาเมื่อตาต่อตา
ประจวบบนบัญชรไชย


บทเจรจา  

         เป็นบทกวีที่แต่งเป็นร่ายยาว ส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส  สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง  ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก  ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา  ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที  เมื่อพากย์หรือเจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำเพลงอะไรก็ร้องบอกไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์และเจรจายังจะต้องทำหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูกจังหวะ


        

วิธีดูโขน  


             โขนเป็นละครใบ้ โดยเฉพาะโขนกลางแปลง ผู้ดูจึงต้องดูการแสดงท่าทาง ซึ่งจะบอกความหมาย ความรู้สึก ความคิด ความประสงค์ต่างๆ ได้ทุกอย่าง  ท่าทางที่โขนแสดงออกย่อมสัมพันธ์กับดนตรี ฉะนั้น หน้าพาทย์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขนจึงมีความสำคัญมาก เช่น เพลงกราวนอก กราวในที่ใช้ในเวลาจัดทัพ แสดงให้เห็นความเข้มแข็งคึกคักของทหาร  ท่าทางของผู้แสดงก็แสดงให้เห็นความเข้มแข็งคึกคัก กระหยิ่ม องอาจ กล้าหาญ ความพร้อมเพรียงของกองทัพ  หรือเพลงเชิดและท่ารบ ก็แสดงให้เห็นการรุกไล่หลบหลีก ปิดป้อง หลอกล่อต่างๆ


ภาษาท่าทางของโขน 

จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

๑.  ท่าซึ่งใช้แทนคำพูด  เช่น รับ ปฏิเสธ
๒.  ท่าซึ่งใช้เป็นอิริยาบท และกิริยาอาการ  เช่น เดิน ไหว้ ยิ้ม ร้องไห้
๓.  ท่าซึ่งแสดงถึงอารมณ์ภายใน  เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ



โอกาสที่แสดงโขน  

๑.  แสดงเป็นมหกรรมบูชา  เช่น ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือพระศพ พระบรมอัฐิ หรืออัฐเจ้านาย ตลอดจนศพขุนนาง หรือผู้ใหญ่เป็นที่เคารพนับถือทั่วไป

๒.  แสดงเป็นมหรสพสมโภช  เช่น ในงานฉลองปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ พระพุทธบาท พระแก้วมรกต พระอาราม หรือสมโภชเจ้านายทรงบรรพชา สมโภชในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมโภชในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา สมโภชวันประสูติเจ้านายที่สูงศักดิ์ เป็นต้น

๓.  แสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ในโอกาสทั่วๆ ไป






- เครดิต  www.banramthai.com)






โขน

โขน

             โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการเล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ  โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนงคือ โขนนำวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ โขนนำท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจากกระบี่กระบอง และโขนนำศิลปะการพากย์การเจรจา หน้าพาทย์เพลงดนตรี การแสดงโขน ผู้แสดงสวมศีรษะคือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดาพระยายักษ์  มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย  เรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ  ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนใช้วงปี่พาทย์



ประเภทของโขน แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ

๑  โขนกลางแปลง


๒  โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว

๓  โขนหน้าจอ

๔  โขนโรงใน

๕  โขนฉาก
       



              การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก มีปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา  โขนกลางแปลงนำวิธีการแสดงคือการจัดกระบวนทัพ การเต้นประกอบหน้าพาทย์ มาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์ และเล่นตอนฝ่ายยักษ์และฝ่ายพระรามยกทัพรบกัน  จึงมีการเต้นประกอบหน้าพาทย์ และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้างแต่ไม่มีบทร้อง

        

            โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม

           ๑. โขนกลางแปลง คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้างโรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรื่องกวนน้ำอมฤต เรื่องมีอยู่ว่า เทวดาและอสูรใคร่จะเป็นอมตะ จึงไปทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงแนะนำให้กวนน้ำอมฤต โดยใช้เขามนทคิรีเป็นม้กวน เอาพระยาวาสุกรีเป็นเชือกพันรอบเขา เทวดาชักทางหาง หมุนเขาไปมา พระยาวาสุกรีพ่นพิษออกมา  พระนารายณ์เชิญให้พระอิศวรดื่มพิษนั้นเสีย พระอิศวรจึงมีศอสีนิลเพราะพิษไหม้  ครั้นกวนต่อไป เขามนทคิรีทะลุลงไปใต้โลก พระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคิรีไว้  ครั้นได้น้ำอมฤตแล้ว เทวดาและอสูรแย่งชิงน้ำอมฤตกันจนเกิดสงคราม พระนารายณ์จึงนำน้ำอมฤตไปเสีย พวกอสูรไม่ได้ดื่มน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมากเทวดาจึงเป็นใหญ่ในสวรรค์  พระนารายณ์เมื่อได้น้ำอมฤตไปแล้ว ก็แบ่งน้ำอมฤตให้เทวดาและอสูรดื่ม พระนารายณ์แปลงเป็นนางงามรินน้ำอมฤตให้เทวดา แต่รินน้ำธรรมดาให้อสูร  ฝ่ายราหูเป็นพี่น้องกับพระอาทิตย์และพระจันทร์แต่ราหูเป็อสูร  ราหูเห็นเทวดาสดชื่นแข็งแรงเมื่อได้ดื่มน้ำอมฤต แต่อสูรยังคงอ่อนเพลียอยู่ เห็นผิดสังเกต จึงแปลงเป็นเทวดาไปปะปนอยู่ในหมู่เทวดา จึงพลอยได้ดื่มน้ำอมฤตด้วย  พระอาทิตย์และพระจันทร์จึงแอบบอกพระนารายณ์ พระนารายณ์โกรธมากที่ราหูตบตาพระองค์ จึงขว้างจักรไปตัดกลางตัวราหู ร่างกายท่อนบนได้รับน้ำอมฤตก็เป็นอมตะ แต่ร่างกายท่อนล่างตายไป  ราหูจึงเป็นยักษ์มีกายครึ่งท่อน  ราหูโกรธและอาฆาตพระอาทิตย์และพระจันทร์มาก พบที่ไหนก็อมทันที  เกิดเป็นราหูอมจันทร์หรือจันทรคราสและสุริยคราส  ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้ามาเทศนาให้ราหูเลิกพยาบาทจองเวร ราหูจึงได้คลายพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ออก





       ๒  โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว  เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)  มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง  ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ ๒ วง เพราะต้องบรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและวงขวา  วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง  พอจบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพราพ แล้วก็หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง"



           ๓  โขนหน้าจอ  คือโขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่  ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว  การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง  ผู้เชิดตัวหนังต้องเต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"
      
          ๔  โขนโรงใน  คือ โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม  โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน  การแสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่างโขนกับละครในสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒  ทั้งมีราชกวีภายในราชสำนักช่วยปรับปรุงขัดเกลา และประพันธ์บทพากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก

         ๕  โขนฉาก  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก  กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง



        
         การแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์" กรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์  เรื่องรามเกียรติ์ที่นำมาแสดงโขนนั้นมีหลายสำนวน ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์  โดยเฉพาะบทในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒ ที่กรมศิลปากรปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรื่องตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒  รัชกาลที่ ๖ ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง ๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ระบำศรีวิชัย ท่ารำ

ภาคใต้

ท่ารำ


              ท่ารำระบำศรีวิชัยประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักและภาพปูนปั้นสมัยศรีวิชัย ประสมกับท่ารำชวาและบาหลี สอดแทรกลีลาทางนาฏศิลป์ ลักษณะรำบางท่าคล้ายท่ารำของชวา และบาหลี เช่น การตั้งวงกันศอก ออกเป็นวงโค้ง การทำมือ การใช้คอยักคอเหมือนนาฏศิลป์ชวาและบาหลี การตั้งท่านิ่ง ท่าบิดสะโพกคล้ายท่ารำของบาหลี 


เครื่องแต่งกาย



เสื้อในนาง ตัวเสื้อใช้ผ้าต่วนเนื้อหนาสีเนื้อ เป็นเสื้อเข้ารูปไม่มีแขน ดันทรง เปิดช่วงไหล่และหลังผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่งบาติค เย็บเป็นจีบหน้านางเล็กๆ อยู่ตรงกลางด้านหน้า ไม่มีชายพกผ้าคาดรอบสะโพก ใช้ผ้าแพรเนื้อบาง มี ๒ สี คือ สีเขียว และสีแดงเข็มขัด ทำด้วยโลหะชุบทอง ลายโปร่งเป็นข้อๆ ต่อกัน หัวเข็มขัดทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอยสีต่างหู เป็นต่างหูแบบห้อย ตรงส่วนแป้นหูทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีสร้อยคอ เป็นห่วงๆ ต่อกัน ประดับด้วยพลอยสีแดงและสีเขียวสร้อยสะโพก เป็นห่วงๆ ต่อกัน ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียวหรือสีแดงกำไลต้นแขน มีลักษณะโปร่งตรงกลาง ด้านหน้าของกำไลเป็นรูปกลมเรียงสูงขึ้นไป ๓ ชั้นกำไลมือ มีลักษณะกลม ประดับด้วยพลอยสีขาวกำไลข้อเท้า ลักษณะกลมแต่ด้านในทึบ ตัวกำไลสลับลวดลายทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอยโบ โบเส้นเล็กๆ สำหรับสอดใต้เข็มขัดผ้าสไบ มีแผ่นโค้งเหนือไหล่ตอดสร้อยตัว ๒ เส้น ประกอบด้วยผ้าแพรบาง ความยาวเท่ากับสร้อยชาย ผ้าและสร้อยตัวทั้งสองข้างติดอยู่กับเครื่องประดับสีทอง ที่ใช้คล้องไว้บนไหล่เครื่องประดับนี้ ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียว สีแดง ส่วนสร้อยตัวเป็นโซ่ห่วงทองเล็กๆ ต่อให้ติดกัน ทำด้วยโลหะชุบทองกะบังหน้า มีลักษณะคล้ายกะบังหน้าธรรมดา ตรงกลางด้านหน้าเป็นรูปกลมและต่อยอดกลมให้แหลมถึงตรงปลาย ประดับด้วยพลอยสีขาวปิ่นปักผม ตรงโคนที่ใช้ปักผมนั้นเรียวแหลม ส่วนตอนปลายกลึงจนมีลักษณะกลม ประดิษฐ์ขึ้นด้วยไม้นำมากลึงตามลักษณะแล้วทาสีทองทับ







- คลิประบำศรีวิชัย



-ขอขอบคุณวิดีโอจากกรมศิลปกร









ที่มาhttp://www.phattayakulschool.com/webpages/knowledge/rabamsriwichai.htmlhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=banrakthai&group=7http://www.weloveshopping.com/shop/showproduct.php?pid=10607458&shopid=121868http://www.finearts.go.th/node/338 




ภาคใต้

ภาคใต้


ระบำ ศรีวิชัย




                                 ระบำศรีวิชัย เป็นระบำโบราณคดี เกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2509 โดยได้รับแจ้งจากคุณประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่าท่านตนกู อับดุลราห์มาน นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการจะได้นาฏศิลป์จากประเทศไทยไปถ่ายทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ท่านตนกูแต่งขึ้น จึงขอให้กรมศิลปากรจัดระบำให้ 2 ชุด คือ รำซัดชาตรี และระบำศรีวิชัย สำหรับระบำศรีวิชัยเป็นการศึกษาค้นคว้าขึ้นใหม่ โดยความคิดริเริ่มของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
                                
                               เมื่อ พ.ศ. 2510 มีนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวนิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยอาศัยท่าทางของนาฏศิลป์ชวามาผสมผสานเข้าด้วยกัน และมีนายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ทำนองเพลง   โดยหาแบบอย่างเครื่องดนตรี เช่น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า จากภาพจำหลักที่พระสถูปบุโรพุทโธ ในเกาะชวา และ เลือกเครื่องดนตรีของไทยที่มีลักษณะใกล้เคียงกันบ้าง นำมาผสมปรับปรุงเล่นเพลงประกอบจังหวะระบำขึ้น มีนายสนิท ดิษฐ์พันธ์ เป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ตามหลักฐานศิลปกรรมภาพจำหลักที่พระสถูปบุโรพุทโธ ในเกาะชวา

                       
                              
 ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีวิชัย

๑. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ คือ พิณ ๔ สายชนิดหนึ่ง  

๒. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี  ได้แก่  ซอสามสาย 

๓. เครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฆ้อง ๓ ลูก ฉิ่ง กรับ ฉาบ

๔. เครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย


คลิป