วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

พิธีครอบครู


พิธีครอบครูนาฏศิลป์





           พิธีครอบครูต่างกับพิธีไหว้ครูทั่วไป เป็นพิธีการยกย่องและอนุรักษ์ไว้เพราะครูเป็นผู้ที่ให้ความรู้ ความเฉลียวฉลาดในด้านศิลปวิทยาแก่ศิษย์ ครูจึงเป็นผู้ควรแก่การคารวะบูชา พิธี ไหว้ครูได้ถูกกำหนดระเบียบและบัญญัติวิธีไว้ให้ปฏิบัติกันมาด้วยหลักเกณฑ์อันดีเพื่อก่อให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้เรียน           
           พิธีการไหว้ครูโขนและละครในปัจจุบันส่วนใหญ่ดำเนินตามแบบแผนที่สืบทอดมาแต่โบราณก็แต่บางส่วน แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมจุดประสงค์ในบางส่วนก็เพื่อการสร้างศรัทธายิ่งขึ้น จากการสันนิษฐานของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ว่าการฟ้อนรำของไทยนั้นมีที่มาเป็น ๒ ทาง ทางที่ ๑ เกิดจากการที่มนุษย์ดัดแปลงการร่ายรำจากธรรมชาติจนเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมา 
ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองต่าง ๆ อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า 
ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย ซึ่งบูชาเทพเจ้า 


การจัดพิธี

                         การจัดพิธีไหว้ครูได้กำหนดให้ ทำการในวันพฤหัสบดี  ซึ่งถือว่าเป็น วันครู เนื่องจากครู อาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์- ดนตรีไทย ถือว่าหน้าพาทย์ต่างๆ  เพลงและท่ารำมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ   นั้นผู้แสดงและผู้บรรเลงจะต้องผ่านการไหว้ครู  และครอบเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า  ผิดครู หรือ  แรงครู  ด้วยเหตุนี้วิทยาลัยนาฏศิลป  จึงกำหนดพิธีไหว้ครูและพิธีครอบขึ้นเป็นงานประจำปีปีละ๑ ครั้ง ฉะนั้นก่อนถึงวันไหว้ครู ทางวิทยาลัยนาฏศิลปจะต้องจัดเตรียมสถานที่  จัดศีรษะครู อาจารย์ มาตั้ง จัดหาเครื่องสังเวย พอถึงวันพฤหัสทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมที่จะประกอยพิธีได้  ต้องมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา คือพิธีสงฆ์ พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ เลี้ยงอาหารพระสงฆ์  เสร็จแล้วอนุโมทนาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่ครู อาจารย์ ตลอดจนเทพยาดาต่างๆ ต่อจากนั้นก็เริมพิธีไหว้ครู   การไหว้ครูนั้นผู้เป็นประธานประกอบพิธีไหว้ครู  ได้จัดขั้นตอนไว้ดังนี้

ขั้นตอน
          1.จัดเตรียมสถานที่และทำความสะอาดบริเวณที่จัดให้เรียบร้อย
          2.เชิญหัวโขนหรือศีรษะครู ทั้งที่เป็นเทพเจ้า เทวดา ฤาษี และคนธรรพมาประดิษฐาน เพื่อเป็นประธานตั้งไว้บนโต๊ะที่เตรียมพร้อมแล้ว
          3.พิธีสวดมนต์ไหว้พระ จำนวน 9 รูป
          4.จัดเครื่องกระยาบวช เครื่องสังเวย เครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสังเวยจะจัดออกเป็น 3 ชุด คือ
          - ส่วนของพระมหาเทพ เทวดา นางฟ้า เป็นอาหารสุก
          - ส่วนของพระครูฤาษี พระประคนธรรพ เป็นอาหารสุก
          - ส่วนของพระพิราพ ซึ่งเป็นเทพอสูร เป็นอาหารดิบ
          5.เชิญประธานจัดงานมาจุดธูปเทียนบูชาครู ครูผู้ประกอบพิธีแต่งชุดขาว อ่านโองการเชิญครูต่างๆ มาร่วมพิธี
          6.ดนตรีบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แต่ละเพลงตามที่ครูผู้ประกอบพิธีจะเรียกเพลง
          7.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวถวายเพื่อเซ่นสังเวยต่างๆ ที่ได้จัดมา เสร็จแล้วกล่าวลาเครื่องเซ่นสังเวย
          8.ผู้มาร่วมงานรำถวายเพื่อบูชาครู ซึ่งนิยมรำเพลงช้า – เพลงเร็ว เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงบางเพลง เช่น ตระนิมิตร ตระบองกัน คุกพาทย์ เป็นต้น
          9.ครูผู้ประกอบพิธี ทำพิธีครอบให้ศิษย์ที่มาร่วมงาน โดยนำศรีษะครูมาครอบให้ 3 ศรีษะ คือ
          - ศรีษะพระครูฤาษี อันเป็นสัญลักษณ์ครูทั่วไป
          - ศรีษะพระพิราพ อันเป็นสัญลักษณ์ครูโขน
          - ศรีษะเทริดโนห์รา อันเป็นสัญลักษณ์ครูละคร
          10.ลูกศิษย์นำขันกำนล มีดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้าขาว เงินกำนลครู 24 บาท ผู้ที่ได้รับครอบถือว่าเป็นศิษย์ที่มีครูแล้ว และในวงการนาฏศิลป์ได้รับคนผู้นี้เป็นนาฏศิลป์โดยสมบูรณ์
          11.ลูกศิษย์ที่จะจบออกจากสถาบันเป็นปีสุดท้าย จะเข้ารับมอบ โดยครูผู้ประกอบพิธีจะส่งศรพระขันธ์ให้กับศิษย์ผู้นั้นรับไว้ เปรียบเสมือนการขออนุญาตเพื่อไปสอนศิษย์ต่อไป
          12.ครูผู้ประกอบพิธีจะเจิมหน้าผาก ประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้ของที่ระลึก และกล่าวอวยพรให้กับศิษย์ทุกคนที่เข้าพิธีไหว้ครู
          13.ศิษย์ทุกคนจะรำส่งครู ซึ่งนิยมรำโปรยข้าวตอกดอกไม้เนื้อความเป็นสิริมงคลต่อไป















อ้างอิง :  https://www.gotoknow.org/posts/519976
       http://www.thaidances.com/data/18.asp
       http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/06/19/entry-1




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น